เปรียบเทียบวิธีทางสถิติกับวิธีทางวิทยาศาสตร์
วิธีทางสถิติ
เป็นการศึกษาถึงขั้นตอนการดำเนินการทางสถิติ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
ดังนี้
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Collection
of Data)
2. การนำเสนอข้อมูล (Presentation
of Data)
3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis
of Data)
4. การแปลความหมายของข้อมูล (Interpretation
of Data)
1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
เป็นการวางแผนเพื่อศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
แล้วจึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ การสังเกต การสัมภาษณ์
การทำแบบสอบถาม การทำแบบทดสอบ การนับ การซื้อ เป็นต้น โดยใช้เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ แบบบันทึกการสังเกต แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบทดสอบ ไม้บรรทัด เครื่องชั่ง
เป็นต้น
2. การนำเสนอข้อมูล
เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มาจัดการให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได้ง่าย
นำไปวิเคราะห์ทางสถิติได้อย่างสะดวก การนำเสนอข้อมูลอาจอยู่ในรูปของบทความ ตาราง
กราฟแบบต่าง ๆ การนำเสนอข้อมูลจะอยู่ในรูปแบบใดขึ้นกับลักษณะข้อมูล
และวัตถุประสงค์ที่ต้องการนำเสนอข้อมูล
3. การวิเคราะห์ข้อมูล
เป็นการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาได้มาคำนวณหาค่าทางสถิติ
เพื่อตอบคำถามในเรื่องที่กำลังศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลอาจ
ใช้วิธีการของสถิติเชิงพรรณนาหรืออาจใช้วิธีการของสถิติเชิงอนุมาน
4. การแปลความหมายของข้อมูล
เป็นการอธิบายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้เกิดความเข้าใจ
และได้ผลสรุปที่จะสามารถนำไปใช้ต่อไปได้ การอธิบายผลจำเป็นต้องใช้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของสถิติ
ประกอบกับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่ศึกษาเพื่อให้การแปลความหมายของข้อมูล
มีความครบถ้วนสมบูรณ์
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific
Method) หรือวิธีแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นระบบและมีลำดับขั้นตอนแน่นอน ดังนี้
1. ตั้งปัญหา
2. การสร้างสมมติฐาน
3. ตรวจสอบสมมติฐาน หรือขั้นทดลอง (ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล)
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. ลงข้อสรุป
1. ตั้งปัญหา
2. การสร้างสมมติฐาน
3. ตรวจสอบสมมติฐาน หรือขั้นทดลอง (ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล)
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. ลงข้อสรุป
1.
การสังเกตและการตั้งปัญหา (Observation
and problem)
การสังเกต (Observation) วิธีการทางวิทยาศาสตร์มักจะเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบๆ
ตัวเรา เมื่อได้ข้อสังเกตบางอย่างที่เราสนใจจะทำให้ได้สิ่งที่ตามมาคือ
ปัญหา (Problem)
เช่น การสังเกตต้นหญ้าใต้ต้นไม้ใหญ่
หรือต้นหญ้าที่อยู่ใต้หลังคามักจะไม่งอกงาม
ส่วนต้นหญ้าในบริเวณใกล้เคียงกันที่ได้รับแสงเจริญงอกงามดี
การตั้งปัญหา
"แสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงามของต้นหญ้าหรือไม่"
2. การตั้งสมมติฐาน
(Formulation of Hypothesis)
คือการคาดคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกตปรากฏการณ์ และการศึกษาเอกสารต่างๆ
โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้องแต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับจนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบคอบเสียก่อน จึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่ ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อ
และทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐานไปพร้อมๆ กัน
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นสมมติฐานที่เข้าใจง่าย
มักนิยมใช้วลี "ถ้า…ดังนั้น"
2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับปัญหา ที่ตั้งไว้
สมมติฐานที่เคยยอมรับอาจล้มเลิกได้ถ้ามีข้อมูลจากการทดลองใหม่ๆ มาลบล้าง แต่ก็มีบางสมมติฐานที่ไม่มีข้อมูลจากการทดลองมาคัดค้านทำให้สมมติฐานเหล่านั้นเป็นที่ยอมรับว่าถูกต้อง
เช่น สมมติฐานของเมนเดลเกี่ยวกับหน่วยกรรมพันธุ์ ซึ่งเปลี่ยนกฎการแยกตัวของยีน
หรือสมมติฐานของอโวกาโดรซึ่งเปลี่ยนเป็นกฎของอโวกาโดร
ตัวอย่าง
"ถ้าแสงแดดมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญงอกงอมของต้นหญ้า
ดังนั้นต้นหญ้าบริเวณที่ไม่ได้รับแสงแดดจะไม่งอกงามหรือตายไป"
3. การตรวจสอบสมมติฐาน
หรือขั้นรวบรวมข้อมูล (Gather Evidence)
การตรวจสอบสมมติฐานจะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นเหลักเสมอ
(เนื่องจากสมมติฐานที่ดีได้แนะลู่ทางการตรวจสอบและออกแบบการตรวจสอบไว้แล้ว) โดยการตรวจสอบสมมติฐานนี้ได้จาก
3.1 การสังเกต และการรวบรมข้อเท็จจริงต่างๆ
ที่เกิดจากประสบการณ์ธรรมชาติ
3.2 การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติ
หรือหาคำตอบหรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยการทดลองเพื่อทำการค้นคว้าหาข้อมูลและตรวจสอบดูว่าสมมติฐานข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุดประกอบด้วยกิจกรรม
3 กระบวนการ คือ
3.2.1 การออกแบบการทดลอง
คือการวางแผนการทดลองก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริง โดยให้สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้เสมอ
และควบคุมปัจจัยหรือตัวแปรต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง แบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ
1) ตัวแปรอิสระหรือตัวแปรต้น (Independent
Variable or Manipulated Variable) คือปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผลการทดลองหรือตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดผลเช่นกัน
2) ตัวแปรตาม (Dependent
Variable) คือ ผลที่เกิดจากการทดลอง
ซึ่งต้องใช้วิธีการสังเกตหรือวัดผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้
และจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ
3)
ตัวแปรที่ต้องควบคุม
(Control Variable) คือปัจจัยอื่นๆ
ที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มีผลต่อการทดลอง
และต้องควบคุมให้เหมือนกันทุกชุดการทดลอง
เพื่อป้องกันไม่ให้ผลการทดลองเกิดความคลาดเคลื่อน ในการตรวจสอบสมมติฐาน นอกจากจะควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการทดลองจะต้องแบ่งชุดการทดลองออกเป็น
2 ชุด ดังนี้
ชุดทดลอง หมายถึง
ชุดที่เราใช้ศึกษาผลของตัวแปรอิสระ
ชุดควบคุม
หมายถึง ชุดของการทดลองที่ใช้เป็นมาตาฐานอ้างอิง
เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลที่ได้จากการทดลอง ซึ่งชุดควบคุมนี้จะมีตัวแปรต่างๆ เหมือนชุดทดลองแต่จะแตกต่างจากชุดทดลองเพียง
1 ตัวแปรเท่านั้น คือตัวแปรที่เราจะตรวจสอบหรือตัวแปรอิสระ
4. การปฏิบัติการทดลอง
ในกิจกรรมนี้จะลงมือปฏิบัติการทดลองจริงโดยจะดำเนินการไปตามขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ และควรจะทดลองซ้ำๆ หลายๆ
ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลเช่นนั้นจริง
5. การบันทึกผลการทดลอง
หมายถึง
การจดบันทึกที่ได้จากการทดลองซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สามารถรวบรวมไว้ใช้สำหรับยืนยันว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่
จะเห็นได้ว่า
วิธีการทางสถิตินั้น เป็นส่วนหนึ่งของวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ซึ่งวิธีทางสถิติจะอยู่ในขั้นตอนของการทดลองและตรวจสอบข้อมูล
ของวิธีทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ได้มาซึ่งผลการดำเนินการ
เพื่อนำมาวิเคราะห์ เพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้
โดยสรุปแล้ววิธีทางสถิติกับวิธีทางวิทยาศาสตร์แทบจะไม่แตกต่างกัน
ที่มา
ครูปุ๊กกี้, ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสถิติ(Introduction to Statistics),ออนไลน์, เข้าถึงได้จาก http://mos.e-tech.ac.th/eduweblearning/pukkie/unit_1_5.htm (วันที่สืบค้นข้อมูล 14 พฤษภาคม 2556)
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ,ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์,ออนไลน์,
เข้าถึงได้จาก http://e-learning.snru.ac.th/els/scilife/unit1/t2-30.htm , (สืบค้นข้อมูลวันที่ 14 พฤษภาคม 2556)
การเปรียบเทียบวิธีทางสถิติกับวิธีทางวิทยาศาสตร์
เสนอ
รศ. ดร. พรพิพัฒน์
เพิ่มผล
โดย
นายณัฐกิตติ์ ศาลางาม
รหัส 555318544
ศูนย์ยโสธร รุ่น 2/55
การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี