แนวคิดและทิศทางการประกันคุณภาพภายนอก
: ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตามกฎทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์
และวิธการประกันคุณภาพการศึกษา หมวด 1 บททั่วไป
ข้อ 4 ระบบประกันคุณภาพภาพนอกเพื่อรับรองมาตรฐานและมุ่งพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
ต้องประกอบด้วย
1)
การประเมินคุณภาพภายนอก
2)
การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
หมวด 3 การประกันคุณภาพภายนอก
ข้อ 38 ในการประกันคุณภาพภายนอกให้สำนักงานทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่อง
ดังต่อไปนี้
1)
มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา
2)
มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา
3)
มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
4)
มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน
ในกรณีที่มีความจำเป็นต้องทำการประเมินคุณภาพภายนอกจากมาตรฐานอื่นเพิ่มเติมจากมาตรฐานที่กำหนดในวรรคหนึ่ง
ให้สำนักงานประกาศกำหนดมาตรฐานอื่นได้โดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี
แนวทางของ
สมศ. ในการประเมินคุณภาพภายนอกเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ
รอบแรก (2544 – 2548) เน้นประเมินเพื่อพัฒนา
รอบสอง (2549 – 2553) ให้การรับรองมาตรฐานสถานศึกษา และปฏิบัติตามมาตรา 51
รอบสาม(2554 – 2558) รับรองมาตรฐานและพัฒนาคุณภาพการศึกษาทั้งระบบ โดยใช้
รูปแบบการวิจัยในการให้ความรู้ในเชิงเหตุผลและปัจจัย
(Explanation Research) บูรณาการกับการวิจัยเชิงคุณภาพ
(Qualittative Research) เพื่อศึกษาบริบทและกลไกต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดผลการจัดการศึกษาของแต่ละสถานศึกษาสมศ.
มีแนวคิดและหลักการในการประเมินคุณภาพภายนอกตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติโดยมุ่งเน้นคุณภาพของผู้เรียนเป็นหลัก
เพื่อให้ความมั่นใจว่าผู้เรียนจะได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะอยู่ท้องถิ่นใดก็ตาม
โดยระบบการประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนกรอบแนวคิดเชิงมิติในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบที่สาม
(พ.ศ.2554 –
2558)
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มิติที่ 1 ประสิทธิผล
(75 %)
· ผู้เรียนมีคุณธรรม
จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ (15%)
· ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
(10 %)
· ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน
(15 %)
· ผู้เรียนคิดเป็น
(15 %)
· ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร
(20 %)
มิติที่ 2 คุณภาพ
(10 %)
·
การประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน (10 %)
มิติที่ 3 การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(9 %)
·
คุณภาพครู (3 %)
·
คุณภาพการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การประเมินผลการเรียนรู้
และการสอนซ่อมเสริม (6 %)
มิติที่ 4 การบริหารและการพัฒนาสถานศึกษา
(6 %)
·
การกำกับ ดูแล และขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการสถานศึกษา (3
%)
·
การบริหาร บริหารวิชาการและการพัฒนาสถานศึกษาของผู้บริหาร รวมทั้ง
การทำให้ผู้เรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ (3 %)
แนวคิดและทิศทางในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสามระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1.
ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา
2.
ประเมินคุณภาพภายนอกจากผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก ตามมาตรา 50
ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยให้น้ำหนักร้อยละ 80 และใช้ข้อมูลเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี
3.
ประเมินโดยวิธีการและข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพโดยพิชญพิจารณ์
(Peer Review)
4.
ประเมินโดยการยืนยันรายงานการประเมินตนเองที่ถูกต้องเชื่อถือได้
เพื่อกระตุ้นให้การประกันคุณภาพภายในมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
5.
การประเมินในเชิงกระบวนการ โดยให้น้ำหนักร้อยละ 20 และให้ความสำคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพครู เครื่องมืออุปกรณ์
คุณภาพและความพร้อมของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
การบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน และการประกันคุณภาพภายใน
6.
ลดจำนวนตัวบ่งชี้และจำนวนมาตรฐานสำหรับการประเมินคุณภาพภายนอก
โดยถ่ายโอนตัวบ่งชี้และมาตรฐานเกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าและกระบวนการให้อยู่ในระบบการประกันคุณภาพภายใน เอกสารอ้างอิงราชกิจจานุเบกษา.
กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. เล่ม 127 หน้า 22.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา
(องค์การมหาชน). คู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554
– 2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับสถานศึกษา พ.ศ.2554
แนวคิดของการประกันคุณภาพการศึกษา
แนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษา เนื่องจากสถาบันการศึกษามีแนวโน้มที่จะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น
พร้อมทั้งระบบต่าง ๆ ให้มีความพร้อมกับการขยายตัว มีการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาที่มีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น
อีกทั้งการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน เป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้สถาบันการศึกษาของประเทศไทย
จำเป็นจะต้องสร้างคุณภาพให้เกิดขึ้น อย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานภายในสถานศึกษา
ในแต่ละส่วนดำเนินไปอย่างมีระบบ แบบแผน และสามารถตรวจสอบได้อย่างถูกต้องโปร่งใส
สาธารณชนสามารถรับรู้ถึงบทบาทหน้าที่ของสถาบันการศึกษา
จึงได้มีแนวคิดการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นกระบวนการบริหารจัดการที่มี
การพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้รับบริการทางการศึกษาโดยตรงได้แก่
นักศึกษา ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชน และสังคม
ซึ่งระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในมีแนวคิดในการดำเนินงาน 3 ขั้นตอน
1.การพัฒนาคุณภาพ (Quality Control) เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ
และพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน
2.การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบ (Quality Audit ) และติดตามผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
3.การประเมินคุณภาพ (Quality Assessment )เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษาโดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่
และหน่วยงานต้นสังกัดในส่วนกลาง โดยการตรวจเยี่ยม และประเมินสถานศึกษาเป็นระยะ
ตามที่กำหนดโดยหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้การช่วยเหลือ และเตรียมพร้อมเพื่อรอรับการประเมินจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมิน
คุณภาพการศึกษาภายนอก
ในการจัดทำการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพ
นั้น จะต้องทำให้การประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการ
การบริหารจัดการนี้เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำงานให้ประสบความสำเร็จ โดยต้องมีกระบวนการวางแผน
(Plan) ปฏิบัติการตามแผน (Do) ตรวจสอบประเมินผล
(Check) และพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ (Act) ซึ่งหลักการนี้เป็นการบริหารคุณภาพครบวงจร (PDCA) ของเดมมิ่ง วงจร PDCA
เป็นวงจรการวางแผน
ลงมือทำ ตรวจสอบ และปฏิบัติ เพื่อแก้ไขหรือปรับปรุง
มีพัฒนาการจากการควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ โดยมีลักษณะเป็นวงจรต่อเนื่อง
ทั้งนี้อาจอธิบายถึงกระบวนการ
4 ขั้นตอนโดยสังเขปได้ดังนี้
1)
วางแผน (plan) ต้องพิจารณาในประเด็นสำคัญ
เช่น
· การกำหนดวัตถุประสงค์เป้าหมายให้ชัดเจน
· การกำหนดคุณลักษณะที่ใช้ในการควบคุม
· การกำหนดวิธีการทำงานเพื่อบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ เป็นต้น
2) ลงมือทำ
(do) ได้แก่
· ศึกษาและฝึกอบรมให้เข้าใจวิธีการทำงานในแต่ครั้ง
และลงมือปฏิบัติ
· เก็บข้อมูลคุณลักษณะทางด้านคุณภาพตามวิธีการที่ได้กำหนดไว้
เป็นต้น
3) ตรวจสอบ (check) ซึ่งเป็นการตรวจสอบความก้าวหน้าของงานและการ
ประเมินผล
สิ่งที่ได้ลงมือปฏิบัติไปแล้ว เช่น
·
ตรวจสอบว่างานที่ทำได้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่
·
ตรวจตราคุณลักษณะทางด้นคุณภาพว่าตรงตามเป้าหมายหรือไม่ เป็นต้น
4)
ปฏิบัติและแก้ไขปรับปรุง (act) เมื่อตรวจสอบสิ่งที่ได้ทำตามแผนพบว่ามีความ
ผิดพลาดหรือข้อบกพร่อง ต้องทำการแก้ไขและปรับปรุง เช่น
· แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหา
· ค้นหาสาเหตุ แล้วทำการป้องกัน เพื่อไมให้เกิดความผิดพลาดขึ้นอีก
· หาทางพัฒนาระบบหรือปรับปรุงการทำงานนั้นๆ
โดยตรง เป็นต้น
เมื่อมีการนำ PDCA มาใช้ในการปรับปรุงการบริหาร
โดยเฉพาะเน้นด้านการควบคุมคุณภาพ จึงมีการขยายผลกระบวนการ
เพิ่มขั้นตอนเชิงปฏิบัติโดยละเอียดมากขึ้น แต่ในแนวคิดหลักยังคงขั้นตอนสำคัญทั้ง 4 คือ plan-do-check-action อย่างครบถ้วน
นอกจากนี้อาจมีการขยายผลวงจร PDCA เพื่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงรูปธรรมอย่างชัดเจน
มีการดำเนินงาน 3
ขั้นตอน ดังนี้
1. การพัฒนาคุณภาพ
2. การตรวจติดตามคุณภาพ
3. การประเมินคุณภาพ
จากแนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาข้างต้น ทำให้ทราบถึงกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาที่เป็นระบบชัดเจนมากขึ้น
เป็นผลทำให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาและบุคลากรทุก
คนในหน่วยงาน สามารถที่จะนำกระบวนการประกันคุณภาพการศึกษาและวงจรคุณภาพมาประยุกต์ใช้ใน
การปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานในแต่ละด้าน และเป็นภาพรวมที่มีคุณภาพต่องานประกันคุณภาพขององค์กรหรือหน่วยงาน
แต่การที่งานในแต่ละด้านจะมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลได้
องค์กรหรือหน่วยงานจำเป็นที่จะต้องมีความรับผิดชอบในการสร้างผลผลิตที่มี
คุณภาพ
แนวคิดและทิศทาง
1)
ประเมินอิงเกณฑ์ตามจุดเน้นของสถานศึกษา
2)
ประเมินจากผลการจัดการศึกษาเป็นหลัก
ตามมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ โดยให้น้ำหนักร้อยละ 75
3) ประเมินในเชิงกระบวนการ โดยให้น้ำหนักร้อยละ 25 เพื่อให้ความสำคัญกับคณะกรรมการสถานศึกษา
ผู้บริหารสถานศึกษา ครู เครื่องมืออุปกรณ์ คุณภาพและความพร้อมของผู้เรียน การจัด
การเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การบริหารจัดการที่ใช้โรงเรียนเป็นฐาน
และการประกันคุณภาพภายใน
4)
ประเมินโดยวิธีการและข้อมูลทั้งเชิงปริมาณ เชิงคุณภาพ
และพัฒนาการ โดยพิชญพิจารณ์ (Peer
Review)
5)
ประเมินโดยการยืนยันรายงานการประเมินตนเองที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ เพื่อกระตุ้นให้
การประกันคุณภาพภายในมีความเข้มแข็งยิ่งขึ้น
6) ลดจำนวนมาตรฐานและจำนวนตัวบ่งชี้โดยถ่ายโอนมาตรฐานและตัวบ่งชี้เกี่ยวกับปัจจัยนำเข้าและกระบวนการให้อยู่ในระบบการประกันคุณภาพภายใน
หลักการพัฒนาตัวบ่งชี้
1) กำหนดตัวบ่งชี้ที่มุ่งการประเมินผลผลิต
ผลลัพธ์และผลกระทบ มากกว่าปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ
2) คำนึงถึงลักษณะและประเภทของสถานศึกษา
3)
เน้นตัวบ่งชี้ทั้งคุณภาพและปริมาณ
ทั้งเชิงบวกและลบ
4) ตระหนักถึงความสำคัญของปัจจัย ข้อจำกัด ตลอดจนวัฒนธรรม และความเป็นไทย
5) ให้มีตัวบ่งชี้พื้นฐานเท่าที่จำเป็น
แต่ยังคงอำนาจจำแนก โดยเพิ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์และตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
6) คำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างการประกันคุณภาพภายในและการประเมินคุณภาพภายนอก
หลักเกณฑ์การกำหนดตัวบ่งชี้
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ได้กำหนดตัวบ่งชี้เป็น 3 กลุ่ม คือ
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ และกลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
ให้สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ
พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ
หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553 ข้อ 38 ซึ่งกำหนดให้ สมศ.ทำการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาแต่ละแห่งตามมาตรฐานการศึกษาของชาติและครอบคลุมหลักเกณฑ์ในเรื่องต่อไปนี้
คือ 1)มาตรฐานที่ว่าด้วยผลการจัดการศึกษาในแต่ละระดับและประเภทการศึกษา 2)มาตรฐานที่ว่าด้วยการบริหารจัดการศึกษา
3)มาตรฐานที่ว่าด้วยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 4)มาตรฐานที่ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายใน
ดังจะเห็นความสอดคล้องตามตารางที่ 1
ตารางที่ 1 ความสอดคล้องระหว่างตัวบ่งชี้และมาตรฐานตามกฎกระทรวงฯ
กลุ่มตัวบ่งชี้
|
ตัวบ่งชี้
|
มาตรฐานตามกฎกระทรวงฯ
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
|
1.
ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
|
ผลการจัดการศึกษา
|
2.
ผู้เรียนมีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
|
3.
ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
|
4.
ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
|
5.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
|
6.
ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
การจัดการเรียนการสอน
ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
7.
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
|
การบริหารจัดการศึกษา
|
8.
พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด
|
การประกันคุณภาพภายใน
|
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์
|
9.
ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ
และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
|
ผลการจัดการศึกษา
|
10. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
|
กลุ่มตัวบ่งชี้
มาตรการส่งเสริม
|
11.
ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
|
ผลการจัดการศึกษา
|
12. ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน
รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศ
ที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
|
การบริหารจัดการศึกษา
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินภายใต้ภารกิจของสถานศึกษา
โดยกำหนด
ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินบนพื้นฐานที่ทุกสถานศึกษาต้องมีและปฏิบัติได้
ซึ่งสามารถชี้ผลลัพธ์และผลกระทบได้ดี และมีความเชื่อมโยงกับการประกันคุณภาพภายใน
กลุ่มตัวบ่งชี้อัตลักษณ์ หมายถึง กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลผลิต ตามปรัชญา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ
และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา รวมถึงความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละสถานศึกษา
โดยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงาน
ต้นสังกัด
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
หมายถึง
กลุ่มตัวบ่งชี้ที่ประเมินผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
โดยสถานศึกษาเป็นผู้กำหนดแนวทางพัฒนาเพื่อร่วมกันชี้แนะ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมตามนโยบายของรัฐ
ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาและปัญหาสังคมที่เปลี่ยนไป
โดยมีเป้าหมายที่แสดงถึงความเป็นผู้ชี้นำสังคม อาทิ
การรักชาติ
การบำรุงศาสนาและเทิดทูนพระมหากษัตริย์
การส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ การน้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปฏิบัติเป็นแบบอย่าง การสร้างสังคมสันติสุขและความปรองดอง
การส่งเสริมความร่วมมือในกรอบประชาคมอาเซียน การส่งเสริมด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน
เศรษฐกิจ สุขภาพ ค่านิยม
จิตสาธารณะ และความประหยัด รวมทั้งการแก้ปัญหาสังคม อาทิ
ความขัดแย้ง อุบัติภัย และสิ่งเสพติด
เป็นต้น
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐานมีความสอดคล้องกับมาตรฐานตามกฎกระทรวงฯ
โดยมีความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้ต่างๆ ในลักษณะห่วงโซ่แห่งคุณภาพ
ดังนี้
แผนภาพที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างมาตรฐานและตัวบ่งชี้ต่างๆ ในลักษณะห่วงโซ่แห่งคุณภาพ
การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้
การกำหนดค่าน้ำหนักตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีดังนี้
ตารางที่ 2
น้ำหนักตัวบ่งชี้
กลุ่มตัวบ่งชี้
|
ชื่อตัวบ่งชี้
|
น้ำหนัก คะแนน
|
กลุ่มตัวบ่งชี้พื้นฐาน
|
1. ผู้เรียนมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี
|
10
|
2. ผู้เรียนมีคุณธรรม
จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์
|
10
|
3. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้
และเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
|
10
|
4.
ผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น
|
10
|
5.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน
|
20
|
6.
ประสิทธิผลของการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
|
10
|
7.
ประสิทธิภาพของการบริหารจัดการและการพัฒนาสถานศึกษา
|
5
|
8. พัฒนาการของการประกันคุณภาพภายในโดยสถานศึกษาและต้นสังกัด
|
5
|
รวมน้ำหนัก
|
80
|
กลุ่มตัวบ่งชี้
อัตลักษณ์
|
9. ผลการพัฒนาให้บรรลุตามปรัชญา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถานศึกษา
|
5
|
10. ผลการพัฒนาตามจุดเน้นและจุดเด่นที่ส่งผลสะท้อนเป็นเอกลักษณ์ของสถานศึกษา
|
5
|
รวมน้ำหนัก
|
10
|
กลุ่มตัวบ่งชี้มาตรการส่งเสริม
|
11. ผลการดำเนินงานโครงการพิเศษเพื่อส่งเสริมบทบาทของสถานศึกษา
|
5
|
12. ผลการส่งเสริมพัฒนาสถานศึกษาเพื่อยกระดับมาตรฐาน
รักษามาตรฐาน และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปการศึกษา
|
5
|
รวมน้ำหนัก
|
10
|
|
รวมน้ำหนักทั้ง 12 ตัวบ่งชี้
|
100
|
ข้อมูลการดำเนินงานของสถานศึกษาที่ใช้ประกอบการพิจารณา
ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
(พ.ศ. 2554 – 2558) ระดับการศึกษา ขั้นพื้นฐาน ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย
3 ปีการศึกษาย้อนหลังก่อนการประเมิน
(กรณีสถานศึกษาเปิดใหม่ที่มีการดำเนินงานไม่ครบ 3 ปีการศึกษา
ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงานเฉลี่ย
2 ปีการศึกษาล่าสุด หรือหากมีการดำเนินงานไม่ครบ 2 ปีการศึกษา ให้ใช้ข้อมูลผลการดำเนินงาน
1 ปีการศึกษาล่าสุดก่อนการประเมิน)
รูปแบบการประเมิน
การประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
(พ.ศ. 2554–2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
มีรูปแบบการประเมิน 5 รูปแบบ ดังนี้
1)
การประเมินเชิงปริมาณ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2 และ 6.2
2)
การประเมินเชิงปริมาณและพัฒนาการ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 1.1, 5.1 – 5.8, 8
3)
การประเมินเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 1.2 และ 2.2
4) การประเมินเชิงคุณภาพ
ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 6.1, 7, 9, 10 และ 12
5) การประเมินเชิงคุณภาพและพัฒนาการ
ได้แก่ ตัวบ่งชี้ที่ 11